วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
          เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้
   1. เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น
   2. เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
   3. เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น
   4. เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น
องค์ประกอบของการสื่อสาร
   1. ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
   2. ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
   3. ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
   4. สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
   5. โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
          การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)
          การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส
โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
          เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา
วอยซ์เมล (Voice Mail)
          เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าวอยซ์เมล์บ็อกซ์ เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม
การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)
          เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม
การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)
          เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
กรุ๊ปแวร์(groupware)
          เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)
          ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ 
ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)
          เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน
การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
          เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
ชนิดของสัญญาณข้อมูล
   1. สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)
          เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ
เฮิรตซ์ (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ
   2. สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)
         สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที
โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)
          โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที
ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ
   1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
   2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
   3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)
ตัวกลางการสื่อสาร
1. สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media) สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
    - สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)
สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
    - สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
    - สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)
สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก
2. สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น
    - แสงอินฟราเรด (Infrared) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์
    - สัญญาณวิทยุ (Radio Wave) เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
    - ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
    - การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication) เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์
หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล
   1. ราคา
   2. ความเร็ว
   3. ระยะทาง
   4. สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
   5. ความปลอดภัยของข้อมูล
มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)
   1. บลูทูธ (Bluetooth)
   2. ไวไฟ (Wi-Fi)
   3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ซอฟแวร์ระบบ(System Software) Dos, Windows, Linux, Unix, Mac OS, Android, iOS, Symbian, Windows Phone

ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software) หมายถึง โปรแรกมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงานดังนี้ 
1.WINDOWS เป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาถึงรุ่น Windows 2000 แล้ว บริษัทไมโครซอฟต์ได้เริ่มประกาศใช้ MS Windows 95 ครั้งแรกเมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ.1995 โดยมีความคิดที่ว่าจะออกมาแทน MS-DOS และ วินโดวส์ 3. X ที่ใช้ร่วมกันอยู่ ลักษณะของวินโดวส์ 95 จึงคล้ายกับเป็นระบบโอเอสที่มีทั้งดอสและวินโดวส์อยู่ในตัวเดียวกัน แต่เป็นวินโดวส์ที่มีลักษณะพิเศษกว่าวินโดวส์เดิม เช่น มีคุณสมบัติเป็น Plug and play ซึ่งสามารถจะรู้จักฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องได้โดยอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นระบบ 32 บิต ในขณะที่วินโดวส์ เดิมเป็นระบบ 16 บิต เป็นต้น บริษัทไมโครซอฟต์ไม่ได้หยุดเพียงแค่วินโดวส์ 95 แต่ได้มีการพัฒนาเพิ่มฟังก์ชันใหม่ ๆ เข้าไป ในที่สุดก็ออกระบบโอเอสตัวถัดมาเป็น MS Windows 98 และ MS Windows 2000 ตามลำดับโดยที่มีการติดตั้ง และการใช้งานที่มีพื้นฐานไม่แตกต่างกันมากนัก จึงง่ายสำหรับผู้ใช้ในการปรับตัวเข้ากับระบบโอดอสใหม่ ๆ 
2. Linux เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม ระบบลีนุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4 นั้น สามารถทำงานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือบนซีพียูของอิลเทล (PC Intel) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ บนพีซีหรือแมคโอเอส (Mac OS) ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน และเรื่องของการดูแลระบบลีนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น 

3.UNIX เป็นระบบ OS ที่สามารถใช้ร่วมกันได้หลายคน (Multiuser) หรือเป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีชื่อและพาสเวิร์ดส่วนตัว และสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก โดยผ่านทางสายโทรศัพท์และมี Modem เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลหรือโอนย้ายข้อมูล นิยมใช้อย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐบาล หรือบริษัทเอกชนที่มีระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่ ๆ ใช้ ในระบบยูนิกซ์เองก็มีวินโดวส์อีกชนิดหนึ่งใช้เรียกว่า X Windows สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ระบบยูนิกซ์ในเครื่องพีซีที่บ้านก็มีเวอร์ชั่นสำหรับพีซีเรียกว่า Linux ซึ่งจะมีคำสั่งพื้นฐานคล้าย ๆ กับระบบยูนิกซ์ 
4. Mac OS เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้เฉพาะกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แมคอินทอช ที่ผลิตโดยบริษัทแอปเปิลแมคอินทอชโอเอสถูกเปิดตัวออกมาครั้งแรกในปี 1984 ลักษณะที่เด่นของระบบปฏิบัติการประเภทนี้คือ มีลักษณะที่ง่ายต่อการใช้งานมากกว่าระบบปฏิบัติการดอส เนื่องจากคำสั่งต่าง ๆ จะอยู่ในรูปแบบของเมนู และมีรูปภาพที่เรียกว่าไอคอน ที่ใช้แทนโปรแกรมหรืองานผู้ใช้สามารถใช้เมาส์คลิกเลือกเมนู หรือไอคอนเพื่อเรียกคำสั่งหรือโปรแกรมขึ้นมาทำงานได้ แทนการป้อนคำสั่งจากแป้นพิมพ์เหมือนดอส เนื่องจากเครื่องแมคอินทอชและไอบีเอ็ม จะมีการออกแบบซีพียูที่แตกต่างกัน กล่าวคือเครื่องไอบีเอ็มและไอบีเอ็มคอมแพททิเบิลจะใช้ไมโครโปรเซสเซอร์หรือซีพียูที่สร้างโดยบริษัท Intel ได้แก่ ซีพียูเบอร์ 80286, 80386, 80486 และในปัจจุบันคือเพนเที่ยม (Pentium) ซึ่งแทนซีพียูเบอร์ 80586 นั่นเอง ในขณะที่เครื่องแมคอินทอชจะใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ที่สร้างโดยบริษัท Motorola ได้แก่ ซีพียูเบอร์ 68000, 68020, 68030 และ 68040 ดังนั้นจึง ไม่สามารถใช้แมคอินทอชกับเครื่องไอบีเอ็มทั่วไปได้ หรือแม้แต่นำโปรแกรมที่พัฒนาภายใต้ดอสไปเรียกใช้งานหรือรัน (run) บนเครื่องแมคอินทอช หรือในทางกลับกันได้ แต่ในเวอร์ชั่นใหม่ของแมคอินทอชคือ ตั้งแต่ Macintosh II เป็นต้นไป มีการเพิ่มแผงวงจรพิเศษให้สามารถนำซอฟต์แวร์บนดอสมารันอยู่บนเครื่องแมคได้ และในเวอร์ชัน 7 (System 7) ได้ถูกออกแบบให้เป็นโอเอสที่มีความสามารถทำงานในลักษณะของมัลติทาสกิ้งได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเครื่องแมคอินทอชยังคงเป็นเครื่องที่มีราคาค่อนข้างแพงมาก เมื่อเทียบกับเครื่องไอบีเอ็มคอมแพททิเบิลทั่วไปที่ใช้ระบบปฏิบัติการดอสหรือวินโดวส์ ดังนั้นจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากเท่ากับเครื่องตระกูลไอบีเอ็ม 

5.Android เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยGoogle และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางGoogleได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น แอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรีโทรศัพท์เครื่องแรกที่สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้คือ HTC Dream ออกจำหน่ายเมื่อ 22 ตุลาคม 2551ความสามารถใหม่ของ แอนดรอยด์ 2.3 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Near field communication 

6.ไอโอเอส (iOS) หรือในชื่อเดิมคือ ไอโฟนโอเอส (iPhone OS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟนของบริษัทแอปเปิล (Apple Inc.) หรือในชื่อเดิม แอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer Inc.) โดยเริ่มต้นพัฒนาสำหรับใช้ในโทรศัพท์ไอโฟน (iPhone) เปิดตัวครั้งแรกเมื่อ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 และได้พัฒนาต่อในเวอร์ชั่น iOS 2.x ใช้สำหรับ ไอพอดทัช (iPod Touch) และ ไอแพด (iPad) เปิดตัวเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 โดยระบบปฏิบัติการนี้สามารถเชื่อมต่อไปยังแอปสโตร์ (App Store) สำหรับเข้าถึงแอปพลิเคชัน (Application) มากมาย โดยใช้งานได้ในเวอร์ชั่น iOS 2.x เป็นครั้งแรกอีกด้วย 

7.Symbian คือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) ช่วยในการส่งข้อมูลของโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก เป็นระบบที่ใช้งานได้ง่าย มีความปลอดภัยสูง ช่วยประหยัดพลังงาน และใช้หน่วยความจำที่มีขนาดเล็ก เพื่อรองรับกับโทรศัพท์มือถือทั้งในปัจจุบันและอนาคต 

8. Windows Phoneเป็นตระกูลระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือกรรมสิทธิ์ ที่พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ และเป็นทายาทที่ของวินโดวส์โมเบิล แม้ว่าจะขัดกับมัน มีวัตถุประสงค์หลักในตลาดผู้บริโภคมากกว่าตลาดองค์กร เปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 พร้อมกับการเปิดตัวในทวีปเอเชียต่อไปในช่วงต้นปี ค.ศ. 2011 เวอร์ชันล่าสุดของวินโดวส์โฟนคือ วินโดวส์โฟน 8 ซึ่งได้รับการบริการให้แก่ผู้บริโภคตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน ไมโครซอฟท์สร้างผู้ใช้ใหม่ในอินเตอร์เฟซ ที่มีภาษาการออกแบบที่เรียกว่า โมเดิร์นสไตล์ ยูไอ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ถูกรวมเข้ากับบริการของบุคคลที่สามและการบริการของ ไมโครซอฟท์ 


อ้างอิงจาก : http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson3-1.asp https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/linux/ http://www.med.cmu.ac.th/eiu/informatics/Literacy/computer/operating%20system/macos.htm http://blog.eduzones.com/ultapix/98577 http://bosscs55.blogspot.com/ http://www.l3nr.org/posts/22005 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%99

หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์

หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 
1 หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึก ซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน เฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น 
2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น internal storge หรือเป็นหน่วยเก็บข้อมูลและโปรแกรมชั่วคราว( temporary storage) เมื่อปิดเคื่รองคอมพิวเตอร์ข้อมูลหรือโปรเเกรมทุกอย่าง ที่เก็บในแรมจะหายไป เนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง หน่วยเก็บข้อมูลประเภทนี้จึงเรียกว่า volatile ดังนั้นจัดเก็บข้อมูลอย่างถาวร ไว้ใช้งานในภายหลัง จึงจำเป็นจะตอ้งมีหน่วยเก็บเข้อมูลภายนอกที่เรียกว่า external storage หรือ secondary storage หรือ auxiliary storage ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลสำหรับการประมวลผลไว้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีกระเเส ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง( non-volatile) ก็ตามกระบวนการในการเก็บข้อมูล เรียกว่า การเขียนหรือการบันทึกข้อมูล ( writing หรือ recording data) เนื่องจากว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง จะบันทึกข้อมูลในรูปของสื่อต่างๆที่สามารถนำมาเร๊ยกในภายหลังได้ กระบวนการดึงข้อมูลมาใช้เรียกว่า retrieving data เเละถ้าเป็นการอ่านข้อมูลจะเรียกว่า reading data เพราะอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองจะอ่านข้อมูลและถ่ายโอนไปยังหน่วยความจำหลัก เพื่อการประมวลผลต่อไป หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ 
                     1.จานแม่เหล็ก ( magnetic disk storage) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท จานแม่เหล็กประกอบด้วยแผ่นพลาสติกหรือโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ข้อมูลสามารถบันทึกและอ่านจากผิวหน้าที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กนี้ จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุสูง มีความเชื่อถือได้ และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของจานแม่เหล็ก เช่น ฮาร์ดดิสก์ ( hard disk ) 
                     2.ฟลอปปี้ดิสก์ ( floppy disks)นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ดิสก์เกตต์ ( diskettes) หรือดิสก์ ( disks) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่สามารถพกพาและเคลื่อนย้ายได้สะดวก ฟลอปปีดิสก์ ในรุ่นแรก ๆ จะมีขนาด 8 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว แต่ปัจจุบันนิยมใช้ขนาด 3.5 นิ้วแต่เดิมฟลอปปีดิสก์เรียกว่า ฟลอปปี ( floppies) เพราะดิสก์มีลักษณะที่บางและยืดหยุ่น แต่ปัจจุบันลักษณะของดิสก์ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เป็นดิสก์ที่หุ้มด้วยแผ่นพลาสติกแข็ง แต่เนื้อดิสก์ภายในยังคงอ่อนเหมือนเดิม จึงเรียกฟลอปปี้เช่นเดิม 


อ้างอิงจาก : http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/prakopmemory.html

ความหมาย Hardware, Software, People Ware และ Data

ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน 1. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่พบใน Case ได้แก่ 1.1 Power Supply 1.2 Mainboard และ ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Mainboard ที่สำคัญ ได้แก่ 1.2.1 CPU 1.2.2 RAM 1.2.3 Expansion Slots 1.2.4 Ports 1.3 Hard Disk 1.4 Floppy Disk Drive 1.5 CD-ROM Drive 1.6 DVD-ROM Drive 1.7 Sound Card 1.8 Network Card 2. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่อยู่นอก Case ที่สำคัญได้แก่ 2.1 Keyboard 2.2 Monitor 2.3 Mouse 2.4 Printer 2.5 Scanner 2.6 Digital Camera 2.7 Modem 2.8 UPS เคส (Case) คือ ส่วนที่เป็นกล่องหรือตัวถังสำหรับบรรจุแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ตัวจ่ายไฟและอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ให้เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า และป้องกันอุปกรณ์ภายในไม่เสียหายจากแมลง หรือฝุ่นละอองต่างๆ เคสที่ดีไม่ใช่แค่สวยงามเท่านั้น แต่ต้องออกแบบให้ระบายความร้อนได้ดีอีกด้วย ปัจจุบัน Case มี 2 แบบ คือ แบบนอน (เรียกว่า Desktop ) และ แบบตั้ง (Tower) Case แบบนอน สามารถนำจอภาพมาตั้งไว้ข้างบนได้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อที่จำกัดที่จะวางเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีข้อเสียที่ภายในมีเนื้อที่จำกัด อาจเป็นอุปสรรค์เมื่อต้องการเพิ่มฮาร์ดแวร์ภายหลัง อย่างไรก็ตาม Case แบบนอนบางยี่ห้ออาจออกแบบมาดีจนเรื่องนี้ไม่ใช่อุปสรรคก็ได้ Case แบบตั้ง เปลืองเนื้อที่กว่า เพราะไม่สามารถวางจอภาพไว้ข้างบนได้ แต่มีข้อได้เปรียบ Case แบบนอน คือเนื้อที่ข้างในมากกว่า จึงเพิ่มฮาร์ดแวร์ได้มากชิ้นกว่า แต่อย่างที่กล่าวแล้วข้างบน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการออกแบบ Case แบบตั้งหากออกแบบไม่ดี อาจมีเนื้อที่เหลือให้เพิ่มฮาร์ดแวร์น้อยกว่าแบบนอนก็ได้


Software หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ ประมวลผลอุปรกรณ์คอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงาน มีหน่วยความจำสูง และมีอุปรกรณ์ประกอบมากมาย แต่อาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์หรือชุดคำสั่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือโปรแกรมระบบ และโปแกรมประยุกต์ 1. โปรแกรมระบบ (system Soltware) ทำหน้าที่ทำงานที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.1 โปรแกรมระบบปฎิบัติการ (Operating System) ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงานย่อยๆ ทำหน้าที่ต่างๆ กันระบบปฎิบัตการที่ใช้กันกว้างขวาง คือ Windows XP ,Windows Vista Linux 1.2 โปรแกรมแปลภาษา (Language Translators) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาสิก โคบอล ฟอร์แทรน โปรแกรมประยุกต์ที่นำเข้ามาสู่หน่วยจำด้วยภาษาที่เขียนขึ้นเราเรียกว่า Source Program ซึ่งเป็นภาษาเครื่องเราเรียกว่า Object Program หรือ Machine Language โปรแกรมแปลภาษแต่ละตัวจะทำหน้าที่ต่างกันและจะแปลได้ภาษาใดภาษหนึ่งเท่านั้น เช่น โปรแกรมภาษาโคบอลก็จะแปลเฉพาะภาษาโคบอลเท่านั้น โปแกรมภาษาฟอร์แทน ก็จะแปลได้แต่ภาษาฟอร์แทนเท่านั้น เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิต เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยงานคอมพิวเตอร์จัดทำขึ้นสำหรับการที่จะช่วยการประมวลผล ที่ทำหน้าที่ประจำโปรแกรมดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย โปรแกรมต่าง ๆ ทำหน้าที่เฉพาะงาน เช่น 1.1.1 Text - Editing Program เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพื่อเตรียมข้อมูลหรือโปแกรม เข้าสู่ระบบ การเพิ่มแก้ไขหรือการย่าย หรือลบทิ้ง 1.1.2 Diagnostic Program ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อพกพร่องของโปแกรมและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1.1.3 Peripheral Interchange Program ช่วยจัดย้ายแฟ้มงานข้อมมูลจากสื่อชนิดหนึ่งไปยังสื่ออีกชนิดหนึ่ง เช่น ย้ายข้อมูลในเทปแม่เหล็กไปเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก VCD,DVD และอื่นๆ 1.1.4.Sort/Merge Program ช่วยงานจัดลำดับข้อมูลตามลำดับอักษรหรือลำดับเลขและช่วยงานรวมแฟ้มข้อมูงต่างๆ เข้ามาเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกัน โปแกรมประยุกต์ คือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่นภาษาเบสิก โคบอล ฟอร์แทรน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลตามคาสมต้องการโปแกรมเหล่านี้ผู้ใช้เขียนเอง สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง ในขณะเดียวกัน มีซอฟแวร์จัดทำขึ้นจำหน่วย เรียกว่า โปหแรมสำเส็จรูป (Package Program) ผู้ใช้งานสามารถนำมาใช้งานได้เลย เช่นโปแรกม CDS/ISIS ซึ่งโปแกรมสำหรับจัดเก็บและสืบค้นสารสนเทศ โปแกรมSAS,ABSTAT,SPSS,Microsoft Office ปัจจุบันมีโปแกรมสำเส็จรูปจำนวนมาก ไมโครคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ทำให้การใช้งานทำได้กว้างขวางขึ้น การเรียนรู้ง่ายและสะดวก อย่างไรก็ตาม โปแกรมสำเร็จรูปก็ไม่สนองตอบความต้องการของผู้ใข้ได้ทุกอย่างบางครั้งจำเป็นต้องเขียนโปแกรมขึ้นมาใช้เอง ก็ต้องศึกษาวิธีการเขียนโปแกรม และต้องแน่ใจว่าเครื่องคอมพิวเตอร์มีตัวแปลภาษา ทำหน้าที่แปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องได้ ภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม 1.ภาษาเครื่อง ประกอบด้วยกลุ่มเลขฐานสอง ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เครื่องสามารถรับรู้และนำไปปฎิบัติได้ทันที ในระยะเริ่มแรกปผู้ใช้จะต้องเรียนรู้ภาษาเครื่อง จึงจะสามารถเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ และการใช้ภาษา เครื่องจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจอย่างลึกซึง จึงนับว่าเป็นความยากลำบากอย่างมากและไม่สะดวกที่จะใช้งาน จึงมีผู้พัฒนาภาษาให้มีความสะดวกมากขึ้น 2. ภาษาระดับต่ำ เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง แต่ทำให้กระซับกว่า โดยผู้ใช้ตัวอักษรแทนเลขฐาน สอง ทำให้ผู้ผู้เขียนชุดคำสั่งสะดวกมากขึ้น เมื่อคอมพิวเตอร์รับคำสั่งภาษาแอสแซบบลีก็จะแปลให้เป็นภาษาที่เรียกว่า แอสแซมเบอล (Assemlier) เพื่อแปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องแม้ว่าผู้ใช้งานจะเข้าใจหรือไม่ก็ตามกับภาษาเครื่อง แต่ยังคงมีความไม่สะดวกเพราะพัฒนามาจากภาษาเครื่อง 3. ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ออกแบบให้ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์จึงทำให้ผู้ใช้งานได้เข้าใจง่ายกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ 2 กลุ่ม ที่กล่าวมา โดยบไม่คำนึงถึงรายละเอียดในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่มากนักไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐาน เกี่ยวกับภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงนี้สามารถนำไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในระบบอื่นได้ นับว่าเป็นภาษาที่สะดวกแก่การใช้งานมากขึ้น แต่ละภาษามีจุดเด่นต่างกัน ต้องมีการพิจารณาเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น - FORTRAN เป็นภาษาที่มีความสามารถในการคำนาณสูงมาก เหมาะสำหรับงานวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม - COBOL เหมาพสำหรับการใช้งานทางด้สนธุรกิจการบัญชีการธนาคาร ความสามารถในการจัดการกับแฟ้มข้อมูลจำนวณมาก - BASIC เป็นภาษษคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นให้มีลักษณธที่ใช้งานง่าย ศึกษาได้ง่ายผู้ใช้สามารถตอบกับเครื่องในโปรแกรมและเหมาะแก่แารใช้งานทางธุรกิจ วิทยาศาสตร์ แต่ภาษาเบสิกยังจัดได้ว่าใหช้งานได้ไม่ดีนัก ส่วนใหญ่ใช้ในไมดครคอมพิวเตอร์ - PACAL เป็นภาษาที่พัฒนามาจากโปรแกรมโครงสร้าง แต่จัดอยู่นะดับปลานกลางเพราะ การจัดการข้อมลูไม่ได้มาก นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีภาษาระดับสูงอีกเช่น ALGOL,ADA,ALP,PROLOG,C เป็นต้น โครงสร้างข้อมูล (DATA Structure) ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลมีรายละเอียดดังนี้ 1.บิท(Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในคอมพิวเตอร์ ย่อมาจาก Binary digit หมายถึงเลขฐานสองที่มีค่า 0หรือ 1ดังนั้นในแต่ละบิทจึงแทนค่าได้เพียงสองสภาวะ หรือถ้าแทนตัวอักษรจะได้เพียง สองตัวอักษรเท่านั้น เช่น 0=a,1=b 2.ไบต์ (Byte)หมายถึง หน่วยข้อมูลกลุ่มหนึ่งที่ใช้แทนตัวอักษร (Character) หนึ่งตัวหรือหนึ่งไบต์เช่น A=0110001,B=011000010 ไบต์ เป็นหน่วยข้อมมูลที่มีขนาดใหญ่กว่าบิทและใช้บอกขนาดความจุในการเก็บข้อมมูลในคอมพิวเตอร์โดยมีหน่วยเรียดว่า ดังนี้ 8 Bit = 1 Byte 1,024 Byte = 1 Kilobyte 1,024 Kilobyte = 1 Megabyte 1,024 Megabyte = 1 Gigabyte - ตัวอักษร (Charater)หมายถึงสัญลักษณ์ ที่ใช้ในการประเมินผล เช่น 0-9,a-z'ก-ฮ และเครื่องหมายอื่นๆ ซึ่งจะมีความหมายเช่นเดียวกับไบต์ - คำ(Word)หมายถึง กลุ่มของไบต์ หรือหน่วยหลักของเขตข้อมูลที่ใช้ในหน่วยความจำหลักของข้อมูล เช่น24 Bits/word หรือ32 Bist/word - เขตข้อมมูล (Field)หมายถึง กลุ่มของไบต์หรือว่ากลุ่มตัวอักษร ที่มีขอบเขตเป็นพื้นที่เฉพาะอันใดอันหนึ่ง ในการบันทึกข้อมูลในแต่ละรายการ เช่น เขตข้อมูลในแต่ล่ะรายการ เช่น เขตข้อมูลของชื่อและนามสกุลหรือประวัติ - ระเบียบ (Recrod)หมายถึง ข้อมูลหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของแฟ้มข้อมมูลหรือกลุ่มของข้อมมูลชุดหนึ่ง หรือกลุ่มของเขตข้อมมูลที่ประกอบขึ้นเป็น Recrord - แฟ้ม (File)หมายถึงชุดข้อมมูล ซึ่งประกอบไปด้วยไปด้วยกลุ่มของระเบียบที่มีวัตถุประสงค์ ในการปะเมินผลร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมมูลของนักศึกษาก็จะประกอบไปด้วยระเบียบของนักศึกษาทุกๆคน - Vector หมายถึง Field ที่ตรงกันในแต่ล่ะ Recrord - Array หมายถึง กลุ่มของ Vector ทั้งหมดใน Recrord 1.3โปรแกรมอำนวจจความสะดวก (Utility Program) 

บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียวหรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบ โครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์ 1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน 2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม 3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์ 1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) 2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA) 3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) 5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่าง ๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถนำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้สามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น 


อ้างอิงจาก http://friendsbcom51.blogspot.com/2012/02/blog-post.html,http://www.comsimple.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/137-software.html,http://computersystemthailand2010.blogspot.com/2010/03/peopleware.html,http://1234data.blogspot.com/p/blog-page_111.html

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ 1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น 2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ 3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ 4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ - เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator) - บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System) - ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager) - ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user) 5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน อ้างอิงจาก http://www.comsimple.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/179-%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C.html

ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ Super Computer, Mini Computer, Micro Computer, Notebook, Tablet,Smart Phone

หากจะแบ่งคอมพิวเตอร์ให้ออกเป็นประเภทหรือหมวดหมู่นั้นได้มีการแบ่งประเภท หลักได้ คือ
1. Super computer คือ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถสูงที่สุดในกลุ่มมีขนาดใหญ่ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) สามารถประมวลผลข้อมูลในปริมาณมากรวมถึงการประมวลผลงานที่มีรูปแบบอันซับซ้อน มีความรวดเร็วในการคำนวณได้มากกว่าหนึ่งล้านล้านต่อวินาที ( 1 Trillion calculations per second ) ภายในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับโปรเซสเซอร์ได้มากกว่า 100 ตัว หน่ายวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์นี้คือ หน่วยจิกะฟลอบ (Gigaflop)
2. Mini computer คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น
3. Micro computer คือ ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกะทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า
4. Notebook คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ
5. Tablet คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม
6. Smart phone คือ โทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ ต่างๆได้  เสมือนยกเอาคุณสมบัติที่ PDA และคอมพิวเตอร์มาไว้ในโทรศัพท์ เช่น iOS (ที่ลงในมือถือรุ่น Iphone) ,BlackBerry OS, Android OS Windows phone 7 และ Symbian Os  (Nokia) เป็นต้น ซึ่งทำให้ สมาร์ทโฟน สามารถลงโปแกรมเพิ่มเติม (Application) ได้ 





วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี 3G

3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อ เนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง แล ะ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น

ยุค 1G เป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ การรับส่งสัญญาณใช้วิธีการมองดูเลตสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่องสื่อสารโดยใช้ การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็ก ๆ ด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ และการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงติดขัดเรื่องการ ขยายจำนวนเลขหมาย และการขยายแถบความถี่ ประจวบกับระบบเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุกำหนดขนาดของเซล และความแรงของสัญญาณ เพื่อให้เข้าถึงสถานีเบสได้ ตัวเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังงานไฟฟ้ามาก ในภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอล และการเข้าช่องสัญญาณแบบแบ่งเวลา โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 1G จึงใช้เฉพาะในยุคแรกเท่านั้น

ยุค 2G เป็นยุคที่พัฒนาต่อมาโดยการเข้ารหัสสัญญาณเสียง โดยบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล ให้มีขนาดจำนวนข้อมูลน้อยลงเหลือ เพียงประมาณ 9 กิโลบิตต่อวินาที ต่อช่องสัญญาณ การติดต่อจากสถานีลูก หรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสถานีเบส ใช้วิธีการสองแบบคือ TDMA คือการแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็ก ๆ และแบ่งกันใช้ ทำให้ใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก กับอีกแบบหนึ่งเป็นการแบ่ง การเข้าถึงตามการเข้ารหัส และการถอดรหัสโดยใส่แอดเดรสหมือน IP เราเรียกวิธีการนี้ว่า CDMA - Code Division Multiple Access ในยุค 2G จึงเป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว

ยุค 2.5G การสื่อสารไร้สายยุค 2.5G ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเทคโนโลยี ในระดับ 2G แต่มีประสิทธิ - ภาพด้อยกว่ามาตรฐาน การสื่อสารไร้สายยุค 3G โดยเทคโนโลยียุค 2.5G สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล แบบแพคเก็ตที่ความเร็วระดับ 20 – 40 Kbps ในทางปฏิบัติ เทคโนโลยีจีพีอาร์เอสนับเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระดับ 2.5G

ยุค 3G เป็นยุคแห่งอนาคตอันใกล้ โดยสร้างระบบใหม่ให้รองรับระบบเก่าได้ และเรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS) โดยมุ่งหวังว่า การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สาย สามารถกระทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย เช่น จากคอมพิวเตอร์ จากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ระบบยังคง ใช้การเข้าช่องสัญญาณเป็นแบบ CDMA ซึ่งสามารถบรรจุช่องสัญญาณเสียงได้มากกว่า แต่ใช้แบบแถบกว้าง (wideband) ในระบบนี้จึงเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า WCDMA 

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทบางบริษัทแยกการพัฒนาในรุ่น 3G เป็นแบบ CDMA เช่นกัน แต่เรียกว่า CDMA2000 กลุ่มบริษัทนี้พัฒนารากฐานมาจาก IS95 ซึ่งใช้ในสหรัฐอเมริกา และยังขยายรูปแบบเป็นการรับส่งในช่องสัญญาณที่ได้อัตราการรับส่งสูง (HDR-High Data Rate) การพัฒนาในยุคที่สาม นี้ยังต้องการความเกี่ยวโยงกับการใช้งานร่วมในเทคโนโลยีเก่าอีกด้วย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่ยังคงให้ใช้งานได้ทั้งแบบ 1G และ 2G โดยเรียกรูป แบบใหม่เพื่อการส่งเป็นแพ็กเก็ตว่า GPRS – General Packet Radio Service ซึ่งส่งด้วยอัตราความเร็วตั้งแต่ 9.06, 13.4, 15.6 และ 21.4 กิโลบิตต่อวินาที โดยในการพัฒนาต่อจาก GPRS ให้เป็นระบบ 3G เรียกระบบใหม่ว่า EDGE - (Enhanced Data Rate for GSM Evolution)

เทคโนโลยีในยุคที่ 3 เรื่องความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้สามารถใช้บริการ Multimedia ได้อย่าง สมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น เช่น การรับ - ส่ง File ขนาดใหญ่, การใช้บริการ Video Conference, Download เพลง, ดู TV ในลักษณะแบบ Streaming เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ปี 2549 นี้ เป็นปีที่จะพยายามเข้าสู่ยุค 3G แต่สำหรับต่างประเทศโดย เฉพาะประเทศญี่ปุ่นได้เลยยุค 3G มาแล้ว

บริการต่างๆของGoogle

ผู้ดูแลระบบสามารถควบคุมการเข้าถึงของผู้ใช้สำหรับบริการประเภทต่างๆ ของ Google ซึ่งได้แก่
Google Apps for Business อันได้แก่เวอร์ชันสำหรับองค์กรของ Gmail, ปฏิทิน, ไดรฟ์ และอื่นๆ อีกมากมาย
สามารถดูแอปพลิเคชันที่ใช้ได้จาก Google Apps Marketplace
บริการอื่นๆ ของ Google อันได้แก่ บล็อกเกอร์, YouTube, และอื่นๆ อีกมากมาย
ผู้ดูแลระบบสามารถเปิดบริการสำหรับทั้งองค์กรหรือหน่วยขององค์กร ตัวอย่างเช่น ในการปิด Google+ เฉพาะสำหรับผู้ใช้ที่เป็นพนักงานชั่วคราว ให้สร้างหน่วยขององค์กรสำหรับพนักงานชั่วคราวขึ้น โดย
ประกอบด้วยผู้ใช้เหล่านี้ และปิด Google+ สำหรับหน่วยขององค์กรดังกล่าว
มีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้:
วิธีควบคุมการเข้าถึงบริการต่างๆ จะแตกต่างกันไปตามส่วนติดต่อผู้ใช้ของคอนโซลการดูแลระบบ (ฉันใช้คอนโซลการดูแลระบบแบบไหน)
บริการบางอย่างอาจขึ้นอยู่กับบริการอื่น ตัวอย่างเช่น Google+ จะขึ้นอยู่กับปฏิทิน, ไดรฟ์, Talk และ Picasa กล่าวคือคุณไม่สามารถเปิด Google+ ถ้าบริการอื่นเหล่านี้ไม่เปิดอยู่
การเปิด/ปิดบริการอาจใช้เวลาถึง 24 ชั่วโมงจึงจะมีผล
ในการควบคุมการเข้ัาถึงบริการสำหรับผู้ใช้รายเดียว ให้สร้างหน่วยขององค์กรที่มีเพียงผู้ใช้รายนั้น
ที่มา https://support.google.com/a/answer/182442?hl=th

FTp (file transfer protocol)

FTP (File Transfer Protocol) 
เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการแลกเปลี่ยนไฟล์ ระหว่างคอมพิวเตอร์บนอินเตอร์เน็ต คล้ายกับ Hypertext Transfer Protocol (HTTP) ที่ใช้ในการส่งเว็บเพ็จและไฟล์ที่เกี่ยวข้อง และ Simple Mail Transfer Protocol (SMPT) ที่ใช้ส่งผ่าน e-mail ซึ่ง FTP เป็นโปรโตคอลประยุกต์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP โดย FTP ใช้ในการส่งไฟล์เว็บเพจจากแหล่งที่เก็บไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแสดงฐานะเป็นเครื่องแม่ข่าย สำหรับทุกคนบนอินเตอร์เน็ต และนิยมใช้ในการ download โปรแกรมและไฟล์มายังเครื่องคอมพิวเตอร์จากเครื่องแม่ข่ายอื่น
ในฐานะผู้ใช้ การใช้ FTP สามารถใช้คำสั่งติดต่อแบบ command line (เช่นเดียวกับคำสั่งของ MS_DOS) web browser สามารถสร้างคำขอ FTP เพื่อ download โปรแกรมที่เลือกจากเว็บเพจนอกจากนี้ FTP สามารถใช้ปรับปรุงไฟล์บนเครื่องแม่ข่าย โดยต้อง logon ไปที่ FTP server การสนับสนุน FTP โดยพื้นฐานในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งโปรแกรมที่มากับ TCP/IP อย่างไรก็ตามโปรแกรม FTP แบบ client ที่มีการติดต่อแบบ GUI ต้อง download จากบริษัทที่ผลิต
ที่มา http://www.dstd.mi.th/board/index.php?topic=474.0

E-mail


ประโยชน์และความสำคัญของอีเมล์

      อีเมล์จึงเป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัยรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ ดังนี้
      1. ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค สำหรับอีเมล์ในทุกแห่งทั่วโลกที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อถึงกันได้ สามารถเข้าไปสถานที่เหล่านั้นได้ทุกที่ ทำให้ผู้คนทั่วโลกติดต่อถึงกันได้ทันที ผู้รับสามารถ
จะรับข่าวสารจาก อีเมล์ได้แทบจะทันทีที่ผู้ส่งจดหมายส่งข้อมูลผ่านทางคอมพิวเตอร์เสร็จสิ้น
      2. สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา แม้ผู้รับจะไม่ได้อยู่ที่หน้าจอ คอมพิวเตอร์ก็ตาม จดหมายจะถูกเก็บไว้ในตู้จดหมายของคอมพิวเตอร์และเป็นส่วนตัว จนกว่า เจ้าของจดหมายที่มีรหัสผ่านจะเปิดตู้จดหมายของตนเอง
      3. สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลายๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลาส่งให้ ทีละคน กรณีนี้จะใช้กับจดหมายที่เป็นข้อความเดียวกัน เช่น หนังสือเวียนแจ้งข่าวให้สมาชิกใน กลุ่มทราบหรือเป็นการนัดหมายระหว่างสมาชิกในกลุ่ม เป็นต้น
      4. ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่งจดหมายถึงตู้ไปรษณีย์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง เนื่องจากไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำหนัก และระยะทางของจดหมายเหมือนกับไปรษณีย์ธรรมดา
      5. ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก ซึ่งจะทำให้ทราบว่าใน ตู้จดหมายของผู้รับมีจดหมายกี่ฉบับ มีจดหมายที่อ่านแล้ว และยังไม่ได้เรียกอ่านกี่ฉบับ เมื่ออ่าน จดหมายฉบับใดแล้ว หากต้องการลบทิ้งก็สามารถเก็บข้อความไว้
ในรูปของแฟ้มข้อมูลได้ หรือจะพิมพ์ออกมาลงกระดาษก็ได้เช่นกัน 
      6. สามารถถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (Transferring Files) แนบไปกับจดหมายถึงผู้รับได้ ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสาร
เป็นไปได้ โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และทันเหตุการณ์ จากความสำคัญของอีเมล์ที่สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้อย่างคุ้มค่า
นี้ ทำให้ในปัจจุบันอีเมล์แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานทุกแห่งทั่วโลกที่ทำให้สมาชิกในชุมชนโลกสามารถติดต่อกันผ่านทาง
คอมพิวเตอร์ได้ในทุกที่ทุกเวลา

Game online เพื่อการศึกษา

ข้อดีหรือประโยชน์ในการเล่นเกมออนไลน์ 
1. เพิ่มทักษะและความสามารถในการพิมพ์ดีด มีเด็กที่เริ่มเล่นเกม จากการไม่เคยสัมผัส แป้นพิมพ์มาก่อนเลย ไม่เคยเรียนพิมพ์ดีด แต่ทุกคนสามารถพิมพ์ดีดได้คล่องแคล่วหลังจากเล่นเกม เพราะเกิดจากความคุ้นเคยนั่นเอง 
2. ฝึกการวางแผน สำหรับเกมประเภทวางแผน และการวางแผนการเล่นในเกมทั่วๆไป ตั้งแต่การเลือกตัวละคร วางแผนการหาสถานที่ หรือฉาก ในการเก็บเลเวล ให้เหมาะสม เพราะถ้าเลเวลน้อยแล้วไปเก็บในฉากยาก ก็ไม่ได้ ..และการเก็บเลเวลในฉาก ที่เหมาะสม หรือสู้กับมอนสเตอร์ ที่เหมาะสม จะทำให้เลเวลขึ้นเร็ว ทำให้เราเก่งเร็วขึ้น รวมถึงเกม โกะ ออนไลน์ ที่เป็นเกมกีฬาประเภทวางแผนอยู่แล้ว 
3. ฝึกการทำงานเป็นทีม และรู้จักแบ่งหน้าที่ เพราะตัวละครแต่ละตัว มีจุดเด่น หรือมีความเก่งกาจ ต่างกันออกไป เช่น เล่นเป็นอาชีพพ่อค้า ก็จะต่อสู้ไม่เก่ง แต่จะเด่นด้านค้าขาย ซื้อของได้ราคาถูก หาเงินเข้าทีมได้เยอะ ส่วนอาชีพไฟท์เตอร์ก็เด่นด้านต่อสู้ มีความอดทน ต้องเป็นกองหน้าให้เพื่อนๆ ส่วน อาชีพอื่น ที่อ่อนแอกว่า เช่น อาชีพ วิซาร์ด หรือนักเวทย์ ที่สามารถโจมตีได้รุนแรง โจมตีระยะไกล แต่พลังป้องกันต่ำ จะตายได้ง่าย จึงต้องมี ไฟท์เตอร์คอยกันด้านหน้า
4. ฝึกทักษะ ทางด้านการค้า ทักษะด้านการค้า สามารถฝึกได้ในหลายๆเกม แต่จะสมจริงมากที่สุดในเกม แรคนารอคออนไลน์ - ตั้งแต่ความสามารถของอาชีพพ่อค้าแม่ค้า ที่ซื้อของจาก npc (ตัวละครในเกม) ในราคาถูกกว่าอาชีพอื่นๆ และสามารถนำมาตั้งร้านเป็นของตัวเอง เพื่อเก็งกำไรขายต่อได้ - รวมถึงการตั้งร้านรับซื้อของ ที่อาชีพอื่นๆหามาได้ - ฝึกคำนวณราคาต้นทุนที่ซื้อมา และราคาขาย - การตั้งชื่อร้านโฆษณาให้ดึงดูดใจลูกค้า - การบริการหรือคุยกับลูกค้า ผูกมิตร ให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและเป็นลูกค้าประจำ - การรับซื้อของร้อน(ในที่นี้คือ รับซื้อของที่ผู้ขายต้องการขายเพราะต้องการเงิโดยด่วน มักจะต้องเสนอราคาแข่งกับร้านอื่นๆ ให้ได้ราคาที่เหมาะสมตามต้องการ) - การปั่นราคา Item หรือราคาสินค้า ทั้งนี้ต้องดูราคาตลาดโดยรวม เพื่อ ให้ราคาสินค้านั้นๆสูงขึ้นเมื่อของหายาก ในขณะเดียวกัน สินค้าที่เริ่มมีมาก จนล้นตลาด ราคาจะถูกลง - การรับจ้างหาเงินในรูปแบบอื่นๆ ที่เป็นความสามารถพิเศษเฉพาะตัว เช่น อาชีพ priest สามารถ เปิดวอร์ป warp คือการเคลื่อนย้าย บุคคลไปยังเป้าหมายหรือสถานที่ที่ ต้องการ เพียงวินาทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นไปทีละคน หรือไปเป็นทีม ถือว่าเป็นการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเดินหรือวิ่งไกลๆ จึงสามารถ เปิดเป็นบริการขาย Warp ได้ ซึ่งข้อนี้เปรียบเสมือนการมองช่องทาง หรือสร้างโอกาสทางธุรกิจ 
- การเก็งราคาสินค้า เด็กๆที่มีความสามารถด้านการค้า จะมองการณ์ไกล ว่าต่อไปจะมีอะไรใหม่ๆเข้ามา หรือสินค้าตัวไหน ที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคตอันใกล้ จึงมีการกักเก็บสินค้าไว้ในโกดัง เพื่อเก็งราคาสินค้าให้ได้ราคาดี *รายละเอียดเรื่องการค้าขาย ที่ได้จากการเล่นเกมนี้ ยังมีอีกเยอะ ซึ่งเด็กๆ ที่เล่นเกมนี้ โดยมีผู้ปกครองชี้แนะ จะได้ประโยชน์หรือทักษะด้านการค้า การหาโอกาสทางการค้า การสังเกต demand&supply ได้มากเลยทีเดียว 
5. ฝึกการเข้าสังคม เนื่องจากเกมออนไลน์เป็นเกมที่ต้องเล่นกับผู้อื่น จึงต้องมีการปรับตัว มีการทักทาย เพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ เด็กต้องรู้จักที่จะทักทายผู้อื่นก่อน การให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะต้องเล่นเกมด้วยกัน 
6. ฝึกการขอโทษ และให้อภัยผู้อื่น การเล่นเกมออนไลน์ ต้องเล่นกับผู้เล่นคนอื่นๆ ที่ล็อคอิน เข้าสู่เกม มาเล่นด้วยกันเป็นจำนวนมาก หลายๆคน อาจมีจุดประสงค์เดียวกัน มีการกระทบกระทั่งกันด้วยความไม่ตั้งใจ เช่น - นักเวทย์ กำลังยิงมอนสเตอร์อยู่ขณะที่กำลังร่ายเวทย์อยู่นั้น นักธนูซึ่งอยู่ใกล้กว่ามองไม่เห็น จึงยิงมอนสเตอร์ตัวเดียวกัน ในกรณีนี้ ต้องยอมให้อภัยกัน เพราะเกิดจาก ความ ไม่ ตั้งใจ - หรือบางคนไปสู้มอนสเตอร์ด้วยกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นปาร์ตี้หมู่คณะ ขณะชุลมุนเกิดความงง จึงไปตีเอามอนสเตอร์ที่อีกกลุ่มหนึ่งกำลังตีอยู่ ผู้มาทีหลัง คือคนทีมาแจม ชาวบ้านเค้า ต้องกล่าวคำ “ขอโทษ” และผู้ที่ตีอยู่ก่อน ก็ต้องรู้จักให้อภัย เพราะเค้าไม่ได้ตั้งใจ เป็นต้น 
7. ฝึกที่จะเป็นคนมีน้ำใจ ให้ความช่วยเหลือผู้เล่นใหม่ ไม่เห็นแก่ตัว บ่อยครั้งที่เห็นผู้เล่นที่เพิ่งเริ่มเล่น ไม่เข้าใจในตัวเกม หรือ การใช้คำสั่งบนแป้นพิมพ์ ว่าต้องกดสั่งอย่างไร มีข้อสงสัยในเกม ต่างๆนานา และมีผู้เล่นที่มีน้ำใจ ตอบคำถาม ให้คำปรึกษา ซึ่งถือเป็นการกระทำที่เกิดจากความมีอัธยาศัยดี แต่ก็มีเช่นกัน สำหรับผู้เล่นที่ไม่มีน้ำใจ และเห็นแก่ตัว เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันปลูกจิตสำนึก
8. ฝึกมารยาทในการเข้าสังคม และความอดกลั้น ผู้เล่นสามารถเล่นเกม และฝึกตนเองให้เป็นคนมีมารยาทในการเข้าสังคม ไม่ว่าจะเป็นการทักทายด้วยวาจาสุภาพกับคนที่เพิ่งรู้จัก การพูดคำ “ขอบคุณ” เมื่อได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น เช่น - ขณะที่ผู้เล่นคนหนึ่งกำลังตีมอนสเตอร์อยู่นั้น บังเอิญถูกรุม และใกล้จะแย่ ก็มีคนมาช่วยรักษา ช่วยฮีลเพิ่มเลือด หรือค่า hp ให้ ควรฝึกให้เป็นนิสัยในการ กล่าวคำว่า “ขอบคุณ” - แต่ในขณะเดียวกัน สังคมเกมออนไลน์ก็เหมือนสังคมโลกภายนอก มีคนดี ย่อมมีคนไม่ดี หากมีคนพูดจาไม่ดี ผู้เล่นก็สามารถเลือกที่จะ อดกลั้น ต่อคำพูดไม่ดีนั้น และกล่าวคำที่ดีออกไป ทำให้เค้ารู้สึกผิด ที่พูดจาไม่ดี แทนที่จะกล่าวคำไม่ดีเช่นกัน อย่าลืมว่าการใช้ชีวิตในสังคมของโลกในเกม ก็เหมือนโลกในชีวิตจริง เหมือนสังคมที่ทำงาน สังคมที่โรงเรียน และอื่นๆ
9. ฝึกปฏิบัติตนตามกฎกติกาของสังคม ทุกเกม มีกฎกติกามารยาทเป็นของแต่ละเกม ถ้าจะมองให้ดี มีทั้งกฎที่เป็นเหมือนกฎหมายของเกม เช่น ห้ามทำร้ายกัน หากคุณทำร้ายผู้อื่นจนตาย คุณก็จะถูกทุกคนในสังคมเกม รุมทำร้ายจนตายเช่นเดียวกัน แต่ของดี ไอเทมในตัวจะตกอีกต่างหาก เป็นต้น
แต่ในกฎที่เสมือนเป็นกฎทางสังคม ก็มี ใครจะเลือกปฏิบัติก็ได้ แต่ผู้เล่นที่ละเมิดกฎทางความคิดที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก็จะถูกมองว่าเป็นคนไม่ดี ถูกประณาม และไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมด้วย เช่น
- การเก็บของที่ไม่ใช่ของของตนเอง เก็บต่อหน้าต่อตาเจ้าของ ซึ่งโดยปกติผู้ที่ตีมอนสเตอร์แล้วของหรือไอเทมต่างๆ ตกลงมาต้องเป็นผู้ครอบครองของสิ่งนั้น ผู้เล่น ที่ไม่ได้ตีมอนสเตอร์แต่วิ่งไปเก็บของเค้ามา ภาษาในเกม เรียกว่า “การลูท” ถือว่าผิดกติกาสังคม เป็นต้น 
10. ทำให้รู้จักเพื่อนใหม่ เกิดมิตรภาพที่ดี 
เนื่องจากการไปเก็บเลเวล ต้องไปด้วยกัน ช่วยเหลือกัน เป็นทีม เกิดความเห็นอกเห็นใจกัน จึงทำให้ผู้เล่นที่คุ้นเคยกัน เกิดมิตรภาพที่ดีต่อกัน ผู้เล่นจำนวนมากที่เจอกันตามงานที่ค่ายเกมแต่ละเกมจัด แล้วได้พบปะเจอตัวจริง พูดคุยกันกลายเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันในโลกแห่งความเป็นจริง
11. รู้จักหักห้ามใจในของที่ไม่ใช่ของของตน
หลายๆครั้ง ที่ผู้เล่นมีโอกาสได้ของที่หายาก และราคาแพงในเกม แต่เนื่องจากการตกลง ที่เกิดขึ้นในทีม หรือ เพราะกติกาสังคมที่มีอยู่ ก็ต้องหักห้ามใจ ที่จะไม่เก็บของสิ่งนั้นมาเป็นของตัวเอง เช่น a. เห็นผู้เล่นท่านอื่นพลาดท่าจากการโจมตีมอนสเตอร์ ของดีในตัวตก ทำอะไรไม่ได้ คนที่อยู่ใกล้เคียงก็ไม่ควรไปหยิบของของเค้า แล้วหนีไปถือเอาเป็นของตนเอง ทางที่ดีควรเก็บของและคืนให้เจ้าของจะดีกว่า
b. การไปเป็นหมู่คณะร่วมกันต่อสู้ ของที่ตกจากมอนสเตอร์ จะเข้าสู่ตัวผู้เล่นตามตกลงโดยอัตโนมัติ เช่น ตามลำดับรายชื่อ หรือสุ่ม แต่หากในกลุ่มมีการตกลงกัน ว่าใครที่ได้ของดี 2 ชิ้น ให้โอนชิ้นหนึ่ง ให้เพื่อนที่ยังไม่ได้ ผู้เล่นที่ได้ของดีดังกล่าว ก็ต้องทำตามที่ได้พูดคุยกันไว้ “ถือว่าเป็นการรักษาคำพูด” และรู้จัก “หักห้ามใจ” 
12. ฝึกสมาธิ เกมสามารถ ฝึกสมาธิให้เราได้เป็นอย่างดี เช่นประเภท เกมกีฬา เช่น ปังย่า (เกมกอล์ฟ) ทำให้เรารู้จักกติกาเกมกอล์ฟเสมือนจริง ฝึกสมาธิในการตีลูก ฝึกการคาดคะเน ความแรงในการตี ต้องใช้สมาธิมาก หรือเกม O2Jam เป็นเกมประเภทดนตรี ต้องกดปุ่ม ถึง 8 ปุ่ม ให้เข้าจังหวะ ตามเพลงที่เลือก ต้องใช้สมาธิอย่างมาก เพราะถ้าพลาด 1 ตัวแล้วอาจจะรวน เพราะความตกใจ ต้องควบคุมอารมณ์ ให้นิ่ง ถือเป็นการฝึกสมาธิได้เป็นอย่างดีทีเดียว 
13.ฝึกทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง มือ และตา ความรอบคอบ ข้อนี้ สามารถฝึกได้ทั้ง เกมปังย่า (เกมกอล์ฟ) และเกม O2Jam (เกมดนตรี) เพราะการเล่นสองเกมนี้นอกจากต้องอาศัยสมาธิแล้ว ยังเป็นการฝึกทักษะความสัมพันธ์ ระหว่าง การมอง และการกดแป้นพิมพ์ และต้องใช้ความรอบคอบและเก็บรายละเอียด ช่างสังเกต เช่น - เกมปังย่า (เกมกอล์ฟ) ต้องรู้จักสังเกต ทิศทางลม ความแรงลม ความลาดเอียงของพื้นที่ และต้องคำนวนระยะทาง กับความแรงที่เราจะตีลูกกอล์ฟออกไป ให้ตรงจุดหมาย เป็นต้น - เกม O2Jam มีข้อดีดังนี้
1. เรียนรู้เรื่องจังหวะเพลง
2. ตัวโน๊ต ผู้เล่นที่คุ้นเคยกับตัวโน๊ต จะทำให้เล่นเกมได้ง่ายขึ้นและทักษะนี้สามารถฝึกได้ 
3.ฝึกประสาทสัมผัส การได้ยิน มือ ตา ฟัง และความคล่องแคล่วของนิ้ว 
4.รู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนานไปตามเสียงเพลง 
5.ได้รู้จักเพื่อนๆที่มีใจรักเสียงเพลง เพื่อนคอเดียวกัน 
6.ฝึกสมาธิ ควบคุมตนเอง 
7.แข่งกับตนเอง พัฒนาทักษะไปเรื่อยๆ 
14. ฝึกความอดทน ความพยายาม บางอย่างในเกมก็ไม่ง่าย ต้องอาศัยความพยายาม เพราะต้องใช้เวลา และเก็บรายละเอียด ทำให้ผู้เล่นต้องมีความอดทนและความพยายาม เช่น การทำเควส หรือการปฎิบัติภารกิจ ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อที่จะได้เลื่อนขั้น เลื่อนยศ 
15.รู้จักค่าของเงิน เก็บหอมรอมริบ การจะได้อะไรสักอย่างในเกม ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า อาวุธ จะต้องมีเงินในเกม เพราะฉนั้น ต้องรู้จักเก็บเงิน ที่อาจจะได้มาครั้งละน้อยๆ รวบรวมให้เป็นเงินก้อน หรือนำของที่เก็บได้ไปขาย เพื่อเก็บเงินไว้ซื้อของที่ต้องการ 
16. ฝึกให้เป็นคนเสียสละ บางเกมการทำภารกิจ ให้กลุ่มของตนเองได้เลื่อนขั้นต้องมีข้อแม้ความลำบากมากมาย เช่นต้องไปต่อสู้กับมอนสเตอร์ที่เก่งๆ บางครั้งหัวหน้าทีม ต้องยอมสละ ค่า sp ที่ตนสะสมมาตลอดชีวิต หรือบางเควส ลูกทีมต้องยอมเสียสละ เลเวลตนเอง ที่กว่าจะเลื่อนได้แต่ละ เลเวลช่างยากเย็นนัก และลูกทีมต้องมีการสละเงินให้ทีมด้วย
17.จุดประกายให้อยากเป็นนักพัฒนาเกม ผู้เล่นหลายคนที่ เล่นเกมแล้วเกิดไอเดีย อยากมีเกมของตัวเอง อยากเรียนคอมพิวเตอร์ และเป็นนักพัฒนาเกม หรือทำ เอนิเมชั่น ซึ่งถือว่าเป็นการจุดประกาย เป็นการเริ่มต้นที่ดี 
18. เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ผู้เล่นหลายคน ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากจุดที่ตนสนใจในเกม เช่น ในเกม TS online มีตัวละครในเรื่อง 3 ก๊ก อยู่ด้วย เด็กๆ จึงไปอ่านวรรณกรรมเรื่องสามก๊กเพิ่มเติม เพราะอยากรู้ว่า ตัวละครไหนเก่งกว่ากัน ใครชนะใคร และเนื้อเรื่องเป็นอย่างไร เพราะเนื้อเรื่องในวรรณกรรมนั้นเกี่ยวเนื่องกับเนื้อเรื่องในเกมด้วยเช่นกัน
เกมข่านออนไลน์ มีฉากที่เป็นประวัติศาสตร์ ยุคข่าน ของเมืองจีน
เกมแรคนารอคออนไลน์ มีกำแพงเมืองจีน เมืองอโยธยา ชื่อเซอร์เวอร์เป็นชื่อของเทพเจ้าในตำนาน ของกรีก
เกมมังกรหยก มีตัวละคร สำนัก ต่างๆ เหมือนในวรรณกรรมเรื่องมังกรหยก ฉากต่างๆเป็นฉากของเมืองจีน มีการทำการค้า วิถีชีวิตที่สอดแทรกลงไป เช่น การทำประมง การทำการค้า เป็นต้น 
19.ทำให้มีเพื่อนต่างชาติ ฝึกภาษา เช่นเกม โกะออนไลน์ สามารถเล่นกับเพื่อนต่างชาติได้สดๆ สามารถพูดคุยฝึกภาษาได้ด้วย 
ที่มา http://www.gamer-gate.net/index.php?a=bbs&b=view&id=20674

ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านต่างๆ

การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 21มีแนวโน้มในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์และมีความสัมพันธ์ข้องเกี่ยวในวีถีชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ซึ่งมนุษย์ได้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆมากมาย และอาจจะสรุปคร่าวดังนี้
- การ พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น
การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง
และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์
- การ พัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษาพูดได้
อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง
เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง
- การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้
เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้
- การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)
การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education)
การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library)
- การ พัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย
 เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ
- การ บริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government)
 รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen
-รวมไปถึงการนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอาชีพต่างๆ อีกด้วย

ที่มา http://blog.eduzones.com/moobo/78859 

การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในครอบครัวของตนเอง

ด้วยความทันสมัยของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เกิดการพัฒนาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆหลายด้าน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์ในครอบครัวของตนเอง 

ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ 
1.การใช้ประโยชน์ในการสื่อสารซึ่งกันและกัน แน่นอนเราไม่อาจจะปฏิเสธได้เลยว่า เรามีการใช้ประโยชน์ในด้านนี้เป็นหลัก
2.การใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกันในบ้าน เช่นการใช้ในการศึกษาหาข้อมูลต่างๆที่บุคคลในครอบครัวสนใจ
3.การใช้ประโยชน์ในการสร้างความบันเทิงในครอบครัว
และรวมไปถึงการใช้ประโยชน์อื่นๆ ที่แต่ละครอบครัวต้องการจะนำไปใช้ ตามพึงประสงค์

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล (Data)หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรม ชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์แทนปริมาณ หรือการกระทำต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล ข้อมูลอยู่ในรูปของ ตัวเลขตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ เป็นต้น สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเปลี่ยนแปลง หรือจัดกระทำเพื่อผลของการ เพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ ลักษณะของสารสนเทศ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกันเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ส่วนคือ 1. ข้อมูล เป็นตัวเลข ข้อความ เสียงและภาพ เป็นข้อมูล ป้อนเข้า 2. การประมวลผล เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล จัดกระทำข้อมูล เพื่อ ให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ 3. การจัดเก็บ เป็นวิธีการที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการใช้ และ สามารถแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน 4. เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูล การประมวลผลทำให้เกิดผล ผลิต ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป อุปกรณ์การสื่อสาร เป็นต้น 5. สารสนเทศ ผลผลิตของระบบสารสนเทศจะต้องถูกต้อง ตรงกับความต้อง การใช้ และทันต่อเหตุการณ์ใช้งาน อ้างอิงข้อมูล http://blog.eduzones.com/noknik15clab/33086

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication technologies)หรือ ICT คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และ ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย อ้างอิงข้อมูลจาก http://blogcomsa403.wordpress.com

ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าที่ ในการประมวลผลข้อมูล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (PC),Notebook,Netbook,tableb รวมไปถึง Smartphone