วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความหมาย Hardware, Software, People Ware และ Data

ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน 1. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่พบใน Case ได้แก่ 1.1 Power Supply 1.2 Mainboard และ ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Mainboard ที่สำคัญ ได้แก่ 1.2.1 CPU 1.2.2 RAM 1.2.3 Expansion Slots 1.2.4 Ports 1.3 Hard Disk 1.4 Floppy Disk Drive 1.5 CD-ROM Drive 1.6 DVD-ROM Drive 1.7 Sound Card 1.8 Network Card 2. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่อยู่นอก Case ที่สำคัญได้แก่ 2.1 Keyboard 2.2 Monitor 2.3 Mouse 2.4 Printer 2.5 Scanner 2.6 Digital Camera 2.7 Modem 2.8 UPS เคส (Case) คือ ส่วนที่เป็นกล่องหรือตัวถังสำหรับบรรจุแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ตัวจ่ายไฟและอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ให้เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า และป้องกันอุปกรณ์ภายในไม่เสียหายจากแมลง หรือฝุ่นละอองต่างๆ เคสที่ดีไม่ใช่แค่สวยงามเท่านั้น แต่ต้องออกแบบให้ระบายความร้อนได้ดีอีกด้วย ปัจจุบัน Case มี 2 แบบ คือ แบบนอน (เรียกว่า Desktop ) และ แบบตั้ง (Tower) Case แบบนอน สามารถนำจอภาพมาตั้งไว้ข้างบนได้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อที่จำกัดที่จะวางเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีข้อเสียที่ภายในมีเนื้อที่จำกัด อาจเป็นอุปสรรค์เมื่อต้องการเพิ่มฮาร์ดแวร์ภายหลัง อย่างไรก็ตาม Case แบบนอนบางยี่ห้ออาจออกแบบมาดีจนเรื่องนี้ไม่ใช่อุปสรรคก็ได้ Case แบบตั้ง เปลืองเนื้อที่กว่า เพราะไม่สามารถวางจอภาพไว้ข้างบนได้ แต่มีข้อได้เปรียบ Case แบบนอน คือเนื้อที่ข้างในมากกว่า จึงเพิ่มฮาร์ดแวร์ได้มากชิ้นกว่า แต่อย่างที่กล่าวแล้วข้างบน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการออกแบบ Case แบบตั้งหากออกแบบไม่ดี อาจมีเนื้อที่เหลือให้เพิ่มฮาร์ดแวร์น้อยกว่าแบบนอนก็ได้


Software หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ ประมวลผลอุปรกรณ์คอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงาน มีหน่วยความจำสูง และมีอุปรกรณ์ประกอบมากมาย แต่อาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์หรือชุดคำสั่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือโปรแกรมระบบ และโปแกรมประยุกต์ 1. โปรแกรมระบบ (system Soltware) ทำหน้าที่ทำงานที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.1 โปรแกรมระบบปฎิบัติการ (Operating System) ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงานย่อยๆ ทำหน้าที่ต่างๆ กันระบบปฎิบัตการที่ใช้กันกว้างขวาง คือ Windows XP ,Windows Vista Linux 1.2 โปรแกรมแปลภาษา (Language Translators) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาสิก โคบอล ฟอร์แทรน โปรแกรมประยุกต์ที่นำเข้ามาสู่หน่วยจำด้วยภาษาที่เขียนขึ้นเราเรียกว่า Source Program ซึ่งเป็นภาษาเครื่องเราเรียกว่า Object Program หรือ Machine Language โปรแกรมแปลภาษแต่ละตัวจะทำหน้าที่ต่างกันและจะแปลได้ภาษาใดภาษหนึ่งเท่านั้น เช่น โปรแกรมภาษาโคบอลก็จะแปลเฉพาะภาษาโคบอลเท่านั้น โปแกรมภาษาฟอร์แทน ก็จะแปลได้แต่ภาษาฟอร์แทนเท่านั้น เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิต เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยงานคอมพิวเตอร์จัดทำขึ้นสำหรับการที่จะช่วยการประมวลผล ที่ทำหน้าที่ประจำโปรแกรมดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย โปรแกรมต่าง ๆ ทำหน้าที่เฉพาะงาน เช่น 1.1.1 Text - Editing Program เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพื่อเตรียมข้อมูลหรือโปแกรม เข้าสู่ระบบ การเพิ่มแก้ไขหรือการย่าย หรือลบทิ้ง 1.1.2 Diagnostic Program ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อพกพร่องของโปแกรมและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1.1.3 Peripheral Interchange Program ช่วยจัดย้ายแฟ้มงานข้อมมูลจากสื่อชนิดหนึ่งไปยังสื่ออีกชนิดหนึ่ง เช่น ย้ายข้อมูลในเทปแม่เหล็กไปเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก VCD,DVD และอื่นๆ 1.1.4.Sort/Merge Program ช่วยงานจัดลำดับข้อมูลตามลำดับอักษรหรือลำดับเลขและช่วยงานรวมแฟ้มข้อมูงต่างๆ เข้ามาเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกัน โปแกรมประยุกต์ คือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่นภาษาเบสิก โคบอล ฟอร์แทรน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลตามคาสมต้องการโปแกรมเหล่านี้ผู้ใช้เขียนเอง สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง ในขณะเดียวกัน มีซอฟแวร์จัดทำขึ้นจำหน่วย เรียกว่า โปหแรมสำเส็จรูป (Package Program) ผู้ใช้งานสามารถนำมาใช้งานได้เลย เช่นโปแรกม CDS/ISIS ซึ่งโปแกรมสำหรับจัดเก็บและสืบค้นสารสนเทศ โปแกรมSAS,ABSTAT,SPSS,Microsoft Office ปัจจุบันมีโปแกรมสำเส็จรูปจำนวนมาก ไมโครคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ทำให้การใช้งานทำได้กว้างขวางขึ้น การเรียนรู้ง่ายและสะดวก อย่างไรก็ตาม โปแกรมสำเร็จรูปก็ไม่สนองตอบความต้องการของผู้ใข้ได้ทุกอย่างบางครั้งจำเป็นต้องเขียนโปแกรมขึ้นมาใช้เอง ก็ต้องศึกษาวิธีการเขียนโปแกรม และต้องแน่ใจว่าเครื่องคอมพิวเตอร์มีตัวแปลภาษา ทำหน้าที่แปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องได้ ภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม 1.ภาษาเครื่อง ประกอบด้วยกลุ่มเลขฐานสอง ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เครื่องสามารถรับรู้และนำไปปฎิบัติได้ทันที ในระยะเริ่มแรกปผู้ใช้จะต้องเรียนรู้ภาษาเครื่อง จึงจะสามารถเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ และการใช้ภาษา เครื่องจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจอย่างลึกซึง จึงนับว่าเป็นความยากลำบากอย่างมากและไม่สะดวกที่จะใช้งาน จึงมีผู้พัฒนาภาษาให้มีความสะดวกมากขึ้น 2. ภาษาระดับต่ำ เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง แต่ทำให้กระซับกว่า โดยผู้ใช้ตัวอักษรแทนเลขฐาน สอง ทำให้ผู้ผู้เขียนชุดคำสั่งสะดวกมากขึ้น เมื่อคอมพิวเตอร์รับคำสั่งภาษาแอสแซบบลีก็จะแปลให้เป็นภาษาที่เรียกว่า แอสแซมเบอล (Assemlier) เพื่อแปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องแม้ว่าผู้ใช้งานจะเข้าใจหรือไม่ก็ตามกับภาษาเครื่อง แต่ยังคงมีความไม่สะดวกเพราะพัฒนามาจากภาษาเครื่อง 3. ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ออกแบบให้ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์จึงทำให้ผู้ใช้งานได้เข้าใจง่ายกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ 2 กลุ่ม ที่กล่าวมา โดยบไม่คำนึงถึงรายละเอียดในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่มากนักไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐาน เกี่ยวกับภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงนี้สามารถนำไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในระบบอื่นได้ นับว่าเป็นภาษาที่สะดวกแก่การใช้งานมากขึ้น แต่ละภาษามีจุดเด่นต่างกัน ต้องมีการพิจารณาเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น - FORTRAN เป็นภาษาที่มีความสามารถในการคำนาณสูงมาก เหมาะสำหรับงานวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม - COBOL เหมาพสำหรับการใช้งานทางด้สนธุรกิจการบัญชีการธนาคาร ความสามารถในการจัดการกับแฟ้มข้อมูลจำนวณมาก - BASIC เป็นภาษษคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นให้มีลักษณธที่ใช้งานง่าย ศึกษาได้ง่ายผู้ใช้สามารถตอบกับเครื่องในโปรแกรมและเหมาะแก่แารใช้งานทางธุรกิจ วิทยาศาสตร์ แต่ภาษาเบสิกยังจัดได้ว่าใหช้งานได้ไม่ดีนัก ส่วนใหญ่ใช้ในไมดครคอมพิวเตอร์ - PACAL เป็นภาษาที่พัฒนามาจากโปรแกรมโครงสร้าง แต่จัดอยู่นะดับปลานกลางเพราะ การจัดการข้อมลูไม่ได้มาก นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีภาษาระดับสูงอีกเช่น ALGOL,ADA,ALP,PROLOG,C เป็นต้น โครงสร้างข้อมูล (DATA Structure) ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลมีรายละเอียดดังนี้ 1.บิท(Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในคอมพิวเตอร์ ย่อมาจาก Binary digit หมายถึงเลขฐานสองที่มีค่า 0หรือ 1ดังนั้นในแต่ละบิทจึงแทนค่าได้เพียงสองสภาวะ หรือถ้าแทนตัวอักษรจะได้เพียง สองตัวอักษรเท่านั้น เช่น 0=a,1=b 2.ไบต์ (Byte)หมายถึง หน่วยข้อมูลกลุ่มหนึ่งที่ใช้แทนตัวอักษร (Character) หนึ่งตัวหรือหนึ่งไบต์เช่น A=0110001,B=011000010 ไบต์ เป็นหน่วยข้อมมูลที่มีขนาดใหญ่กว่าบิทและใช้บอกขนาดความจุในการเก็บข้อมมูลในคอมพิวเตอร์โดยมีหน่วยเรียดว่า ดังนี้ 8 Bit = 1 Byte 1,024 Byte = 1 Kilobyte 1,024 Kilobyte = 1 Megabyte 1,024 Megabyte = 1 Gigabyte - ตัวอักษร (Charater)หมายถึงสัญลักษณ์ ที่ใช้ในการประเมินผล เช่น 0-9,a-z'ก-ฮ และเครื่องหมายอื่นๆ ซึ่งจะมีความหมายเช่นเดียวกับไบต์ - คำ(Word)หมายถึง กลุ่มของไบต์ หรือหน่วยหลักของเขตข้อมูลที่ใช้ในหน่วยความจำหลักของข้อมูล เช่น24 Bits/word หรือ32 Bist/word - เขตข้อมมูล (Field)หมายถึง กลุ่มของไบต์หรือว่ากลุ่มตัวอักษร ที่มีขอบเขตเป็นพื้นที่เฉพาะอันใดอันหนึ่ง ในการบันทึกข้อมูลในแต่ละรายการ เช่น เขตข้อมูลในแต่ล่ะรายการ เช่น เขตข้อมูลของชื่อและนามสกุลหรือประวัติ - ระเบียบ (Recrod)หมายถึง ข้อมูลหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของแฟ้มข้อมมูลหรือกลุ่มของข้อมมูลชุดหนึ่ง หรือกลุ่มของเขตข้อมมูลที่ประกอบขึ้นเป็น Recrord - แฟ้ม (File)หมายถึงชุดข้อมมูล ซึ่งประกอบไปด้วยไปด้วยกลุ่มของระเบียบที่มีวัตถุประสงค์ ในการปะเมินผลร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมมูลของนักศึกษาก็จะประกอบไปด้วยระเบียบของนักศึกษาทุกๆคน - Vector หมายถึง Field ที่ตรงกันในแต่ล่ะ Recrord - Array หมายถึง กลุ่มของ Vector ทั้งหมดใน Recrord 1.3โปรแกรมอำนวจจความสะดวก (Utility Program) 

บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียวหรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบ โครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์ 1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน 2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม 3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์ 1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) 2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA) 3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) 5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่าง ๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถนำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้สามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น 


อ้างอิงจาก http://friendsbcom51.blogspot.com/2012/02/blog-post.html,http://www.comsimple.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/137-software.html,http://computersystemthailand2010.blogspot.com/2010/03/peopleware.html,http://1234data.blogspot.com/p/blog-page_111.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น